วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความสงบ สันติ

      

Hippie Life

Hippie...
  ฮิปปี้ (อังกฤษ: Hippie) คือวัฒนธรรมย่อยเกิดมาจากการเคลื่อนไหวของคนหนุ่มสาว เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นทศวรรษ 1960 และได้แพร่วัฒนธรรมนี้ไปทั่วโลก คำว่าฮิปปี้ มาจาก ฮิปสเตอร์ (อังกฤษ: hipster) (วัฒนธรรมย่อยในยุค 40) และถูกใช้ในการอธิบายถึงพวกที่ทำตัวต่างจากคนส่วนมากในสังคม ในซานฟรานซิสโก เขต Haight-Ashbury คนพวกนี้ได้รับสืบทอดวัฒนธรรมที่แปลกแยกนี้จากพวกบีตเจเนเรชัน (อังกฤษ: Beat Generation) โดยได้เกิดสังคมของพวกเขา ฟังเพลงจำพวกไซเคเดลิกร็อก ปฏิวัติเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ และเสพย์ยา อย่างเช่น กัญชา และ แอลเอสดี
     ในปี 1967 ในซานฟรานซิสโก ฮิปปี้มีความโด่งดัง นำไปสู่เหตุการณ์ Summer of Love ทางฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา และ เทศกาลวู้ดสต็อก ในปี 1969 ทางฝั่งตะวันออก ในเม็กซิโกมีการเริ่ม La Onda Chicana ที่ Avándaro
      แฟชันฮิปปี้ มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมหลัก มีอิทธิพลต่อดนตรีป็อป โทรทัศน์ ภาพยนตร์ งานเขียน และศิลปะ ตั้งแต่อาหารเพื่อสุขภาพ สู่เทศกาลดนตรี การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ยึดติด หรือแม้แต่การปฏิวัติในไซเบอร์สเปซ

        พวกฮิปปี้ไม่สนใจการเมือง  ซึ่งตนถือว่าเป็นเรื่องไม่จริงใจต่อกันและกัน  ไม่ชอบมีเงินตราไว้เกินกว่าเพื่อยังชีพเท่าที่จำเป็นไม่ก้าวร้าวในรูปใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าด้วยกำลังหรือวาจา เรียกร้องแต่ความรัก ความซื่อสัตย์  เปิดเผย  และความเป็นอิสระ  ซึ่งตนเห็นว่าหาไม่ได้จากสังคม  คนพวกนี้ต้องการจะมีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ  เหมือนอาดัมกับอีฟ มนุษย์คู่แรกของโลก





           
ความรักเสรี  ดนตรีร็อก  เป็นสิ่งขาดไม่ได้ของพวกฮิปปี้ ใน ค.ศ. ๑๙๖๙ สถาบันสุขภาพจิตสหรัฐฯ รายงานว่า  มีคนอเมริกันกว่าแสนคนที่ติดยาเสพย์ติตอย่างร้ายแรงและ ๘ ถึง ๑๒ ล้านคน  ได้เคยลองสูบกัญชามาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง  ภาพของฮิปปี้หนุ่มสาววัยฉกรรจ์ที่ติดยาเสพย์ติดอย่างร้ายแรงจนซูบผอมและมีอาการเศร้าซึมเพราะพิษยา ก่อให้เกิดความเศร้าสลดใจแก่ประชาชนที่ได้พบเห็น  หนุ่มสาวเหล่านั้นไม่น้อยจบชีวิตลงด้วยความตาย หรือไม่ก็คุกตะราง





ดอกไม้ กับ ปืน 



วันนี้ เมื่อ วันนั้น…
ในวันที่ 21 ตุลาคม 1967 ได้มีผู้คน มาชุมนุมประท้วง "สงครามเวียดนาม" ที่หน้า "เพตากอน" (จัดโดย the National Mobilization Committee) เพื่อต้องการ ให้รัฐบาล สหรัฐอเมริกา ยุติสงคราม ในเวียดนาม เหตุการณ์ในครั้งนี้เองที่ ได้เกิดภาพ ที่ประทับใจผู้คนทั้งโลก คือ "ภาพผู้หญิง ที่ถือดอกไม้ ประจันหน้ากับตำรวจ" นับเป็นภาพ พลังดอกไม้ ที่กลายเป็น สัญลักษณ์ แห่งสันติภาพ ได้อย่างน่าชม ทีเดียว 


" ภาพนี้ติด 1 ใน 10 อันดับ ภาพการประท้วงของโลกที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรง " ที่จัดอันดับโดย นิตยสาร "TIME"
ภาพและข้อมูล จาก: TIME
ที่มา: ASTV



John Lennon กับมหากาพย์แห่งยุค Imagine


  


    .... รำลึกถึง John Lennon กับมหากาพย์แห่งยุค Imagine ในวาระสามสิบปีการเสียชีวิต ....
ย้อนอดีตกลับไปสามสิบปี ในวันที่ 8 ธันวาคม 1980 โลกต้องตะลึง แฟนเพลงจำนวนมากถึงกับ
ช๊อค กับข่าวที่จอห์น เลนนอน ถูกยิงเสียชีวิต
จอห์นเลนนอน (9 ตค.1940 - 8 ธค.1980) เป็นนักแต่งเพลง นักร้อง และ นักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ
เขาเป็นชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองลิเวอร์พูล จอห์น เลนนอน ร่วมมือกับ พอล แมคคาร์ตนีย์ ก่อตั้งวงเดอะบีทเทิลส์ที่โด่งดัง โดยมีสมาชิกวงอีกสองคนคือ จอร์จ แฮร์ริสัน และ ริงโก สตาร์ และ ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานเพลงอมตะออกมามากมาย อาทิ Help !, Yesterday, A Hard Day's Night, Yellow Submarine, Let It Be เป็นต้น
เพลง Imagine (จินตนาการ) ประพันธ์โดยจอห์น เลนนอน ภายหลังจากที่เขาผันตัวมาเป็นศิลปินเดี่ยว เมื่อวงเดอะบีทเทิลส์ ได้ปิดตัวลง
กล่าวกันว่า เพลงนี้ เป็นผลงานซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และ มีอิทธิพลมากที่สุดของเขา
จอห์น กล่าวถึงเพลง “จินตนาการ (Imagine) ในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า “ ..นี่ไม่ใช่ สาส์นชิ้นใหม่ เมื่อผมนำเสนอ “ให้โอกาสกับสันติภาพบ้าง (Give Peace a Chance)” เราไม่ได้เสนออย่างไร้เหตุผล เราเพียงต้องการบอกว่า “ให้โอกาสกันบ้าง” ในเพลง “จินตนาการ” นี้ก็เช่นเดียวกัน เราเพียงตั้งคำถามว่า “คุณจินตนาการเห็น โลกที่ไม่มีประเทศ และ ปราศจาก ศาสนา ไม่ได้หรือ” เพลงนี้ ส่งสาส์นนี้ออกไปซ้ำแล้วซ้ำอีก มันเป็นสาระเชิงบวก”
โยโกะ โอโนะ ภรรยาของจอห์น เสริมว่า เนื้อเพลงของ “จินตนาการ” เป็น “..สิ่งที่จอห์นมีความเชื่ออยู่ ว่าเราต่างอยู่ในประเทศหนึ่งเดียวกัน โลกใบเดียวกัน และ พลโลกเดียวกัน เขาต้องการสื่อสิ่งนี้ออกไป..”
จอห์น สื่อสิ่งที่เขาเชื่อ พร้อมทั้งพยายามเชิญชวน ให้ผู้ฟัง เข้าร่วมในกระบวนแถวดังกล่าว
โดยเขาเน้นในตอนหนึ่งว่า
เราอาจจะเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก ของจอห์น เลนนอนได้ดีขึ้น หากติดตามกลับไปสู่สภาพทางการเมืองในยุคสมัยนั้น

ใน ช่วงทศวรรษ 1960 เป็นยุคของสงครามเย็น ซึ่งมีการประจัญหน้ากันโดยตรง ระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียตโดยเฉพาะกรณีเหตุการณ์วิกฤติจรวดนำวิถีในประเทศคิวบา การรุกรานของสหรัฐฯในเวียตนาม เป็นต้น
ขณะเดียวกับที่ มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิพลเมืองของคนผิวสีในสหรัฐฯ
เพลง “จินตนาการ” ของจอห์นได้รับการสรรค์สร้างขึ้น ภายใต้บรรยากาศที่แบ่งแยก แตกฝ่ายเช่นนี้
จอห์น คง ต้องการสื่อ และ เรียกร้องให้คนหนุ่มสาว ใช้ “จินตนาการ” ของตน เพื่อสร้างชีวิต สังคม ที่แตกต่างไปจากสภาวะเผชิญหน้า และแบ่งแยกในขณะนั้น
ทุกวันนี้ โลกก็ยังไม่ได้หลุดพ้น จากสภาวะสงคราม การช่วงชิงแก่งแย่ง แม้สงครามทางอุดมการณ์ ระหว่างสองค่าย ดูเหมือนจะยุติลง
มองในแง่นี้ เพลง Imagine จึงยังเหมาะสม มีความหมาย ที่ผู้คนจะขับขาน เชิญชวน และ ให้กำลังใจกันและกัน
ขณะเดียวกัน ก็ยังเหมาะ สำหรับสภาวะทางการเมืองในประเทศไทย ที่การแบ่งพวก แยกฝ่าย ยังคงดำเนินอยู่
หยุดคิดกันสักนิด เงี่ยหูฟังอีกฝ่ายกันสักหน่อย
ความแตกต่างนั้นเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง แต่ความแตกต่าง ไม่จำเป็นต้องชักนำไปสู่ความแตกแยก


         • "จอห์น เลนนอน" เคยกล่าวถึงเพลง "Imagine" ในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า
“ ..นี่ไม่ใช่ สาส์นชิ้นใหม่ เมื่อผมนำเสนอ
“Give Peace a Chance” เราไม่ได้เสนออย่างไร้เหตุผล เราเพียงต้องการบอกว่า “ให้โอกาสกันบ้าง” ในเพลง “Imagine” นี้ก็เช่นเดียวกัน เราเพียงตั้งคำถามว่า “คุณจินตนาการเห็น โลกที่ไม่มีประเทศ และ ปราศจาก ศาสนา ไม่ได้หรือ?” 
เพลงนี้ ส่งสาส์นนี้ออกไปซ้ำแล้วซ้ำอีก มันเป็นสาระเชิงบวก”

** You may say that I'm a dreamerอาจจะดูเหมือนผมเป็นคนช่างฝัน
But I'm not the only oneแต่ผมไม่ได้ฝันเพียงคนเดียวหรอกนะ **



 https://www.youtube.com/watch?v=DVg2EJvvlF8


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น